วันนี้ (3 ธ.ค. 63) เวลา 12.52 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ) นายปกรณ์ อินทสระ ประชาชนจิตอาสาอำเภอสิงหนคร ซึ่งเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถาน วัดบ่อสระ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และมีคณะรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ปลัดจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายวิทศักดิ์จำเริญนุสิต นายอำเภอสิงหนคร ตลอดจนส่วนราชการ จิตอาสาพระราชทาน และประชาชน ครอบครัวสิงหนคร เข้าร่วมพิธี เพื่อไว้อาลัยแด่ผู้วายชนม์เป็นจำนวนมากท่ามกลางบรรยากาศโศกเศร้า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างหาที่สุดมิได้ นายปกรณ์ อินทสระ อายุ 43 ปี เป็นประชาชนจิตอาสาอำเภอสิงหนคร และเป็นสมาชิกกลุ่มคนรักษ์คลองตำบลชิงโค สมรสกับ นางอุไร อินทสระ อายุ 45 ปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นผู้หญิงทั้งหมด คนโตกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวรนารีเฉลิม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนคนรองและคนเล็กกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวัดเปรมศรัทธา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 6 โดยเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563 นายปกรณ์ อินทสระ ได้เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เก็บผักตบชวาในคลองชลประทาน บริเวณหมู่ที่ 8 ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร...
วันนี้ (2 ธ.ค. 63) เวลา 16.00 น. นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนในพื้นที่อำเภอระโนด 3 จุด โดยมีนายชาตรี ณ ถลาง นายอำเภอระโนด พร้อมด้วยนายคงศักดิ์ คงปาน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา สาขาระโนด และนายสยาม อิ่มเจริญ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ สำนักชลประทานที่ 16 ร่วมรายงานสถานการณ์และการปฏิบัติงาน โดยจุดแรก ลงพื้นที่บริเวณประตูน้ำปากบาง หมู่ที่ 6 ตำบลระโนด อำเภอระโนด ซึ่งได้มีการเร่งสูบน้ำทั้ง 2 ฝั่งทะเล ทั้งทะเลหลวงและทะเลอ่าวไทย จุดที่ 2 คือ ที่บริเวณสะพานหัวคลองสี่แยกรับแพรก เขตเทศบาลตำบลปากแพรก อำเภอระโนด ซึ่งทางกรมชลประทาน ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ โดยสามารถผลักดันน้ำได้ 1.3 คิวต่อวินาที และจุดที่ 3 ที่บริเวณคลองปากแตระ ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด ในบริเวณดังกล่าว ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา ได้ติดตั้งชุดเครื่องสูบน้ำท่วมขัง จำนวน 3 เครื่อง อัตราสูบ 50,000 ลิตรต่อนาที ต่อเครื่อง โดยจะมีการสูบน้ำ ตลอด 24 ชั่วโมง...
วันนี้ (2 ธ.ค. 63) เวลา 15.00 น. นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ 2 จุด คือ ที่บริเวณริมคลองเชิงแส ตำบลเชิงแส และที่บริเวณประตูระบายน้ำคลองเชิงแส โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ โดยมีนายสุทธิชัย รักเกื้อ ปลัดอาวุโส รักษาราชการแทนนายอำเภอกระแสสินธุ์ นายคงศักดิ์ คงปาน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา สาขาระโนด และนายทิวาสังขบุญญา นายกเทศมนตรีตำบลเชิงแส ลงพื้นที่ร่วมรายงานสถานการณ์ ตามที่ จังหวัดสงขลา ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2563 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 12 อำเภอ 54 ตำบล 315 หมู่บ้าน 2 ชุมชน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 30,570 ครัวเ รือน 86,649 คน บ้านเสียหายบางส่วน 115 หลัง โดยในส่วนของอำเภอกระแสสินธุ์ ได้รับผลกระทบทั้ง 4 ตำบล จำนวน 22 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 800 ครัวเรือน 3,200 คน...
วันนี้ (2 ธ.ค. 63) เวลา 08.00 น. นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา หลังมีพื้นที่ประสบสาธารณภัยแล้ว จำนวน 11 อำเภอ 47 ตำบล 283 หมู่บ้าน 2 ชุมชน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 15,470 ครัวเรือ 51,332 คน ซึ่งทางจังหวัดได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยแล้ว จำนวน 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง สิงหนคร ควนเนียง รัตภูมิ และหาดใหญ่ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ อาทิ นายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ในฐานะเลขานุการผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด นายพนมเทียน เส้งวั่น ท้องถิ่นจังหวัดสงขลา นางสาวพะเยาว์ เมืองงาม ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก และนางสาวเหมวดี เกตตะพันธุ์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา ฯลฯ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดสงขลา กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันจากการที่น้ำระบายไม่ทัน เมื่อวานนี้ (1 ธ.ค. 63) จนถึงขณะนี้น้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้วในหลายพื้นที่ จึงขอให้ทุกหน่วยเน้นย้ำการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย จะต้องมีการตรวจสอบข่าวสารให้แน่ชัดก่อนเผยแพร่ พร้อมใช้เป็นช่องทางในการชี้แจง สื่อสารสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการตื่นตระหนก “…ขอให้ทุกหน่วยงานประสานการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้ดำเนินการตามระเบียบราชการ พร้อมสรุปการรายงานให้รวดเร็วเป็นปัจจุบัน…” ขณะที่...
เมื่อเวลา 15.30 น. วันนี้ (1 ธ.ค. 63) นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายวรณัฏฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายวิทศักดิ์ จำเริญนุสิต นายอำเภอสิงหนคร และนายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนในพื้นที่อำเภอสิงหนคร โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และคณะ ได้ลงพื้นที่ 2 จุด ประกอบด้วย จุดแรก คือ ที่บริเวณชุมชนบ้านเล ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบมีน้ำเข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 400 หลังคาเรือน และจุดที่ 2 คือ ที่บริเวณประตูน้ำหัวขี้เหล็ก หมู่ที่ 2 ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร ซึ่งเป็นพื้นที่ท้ายน้ำก่อนระบายน้ำออกสู่ทะเลสาบสงขลา โดยจุดดังกล่าวมีทหารเรือจากกองทัพเรือ อู่ทหารเรือธนบุรี กรุงเทพฯ ประมาณ 70 นาย กำลังปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง และมีกำลังเสริมอีกประมาณ 20 นาย เดินทางมาสมทบ พร้อมเรือผลักดันน้ำอีก 10 ลำ เข้าประจำการที่ต้นน้ำในการเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลา ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับคุณสมบัติของเรือผลักดันน้ำนั้น จะสามารถผลักดันน้ำออกสู่ทะเลได้ 24 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที เรือ 10 ลำ สามารถผลักดันน้ำได้ 240 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที นอกจากนั้น เรือผลักดันน้ำจะสามารถเร่งการไหลของน้ำออกสู่ทะเลได้เร็วกว่าปกติ ซึ่งกองทัพเรือได้เร่งดำเนินการเพื่อช่วยระบายน้ำให้เร็วที่สุด โดยทางเจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจผลักดันน้ำฯ จะอยู่ปฏิบัติการในพื้นที่จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ด้าน นายวิทศักดิ์ จำเริญนุสิต นายอำเภอสิงหนคร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดสงขลา ได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้างในหลายอำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอสิงหนคร นอกจากจะมีฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนวันนี้ (1 ธ.ค. 63) บริเวณที่ว่าการอำเภอ วัดได้ 276.4 มิลลิเมตรแล้ว ยังประสบปัญหาน้ำทะเลหนุน ทำให้มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 10 ตำบล 55 หมู่บ้าน 618 ครัวเรือน ได้แก่ ตำบลรำแดง หมู่ที่...
เวลา 14.00 น. วันนี้ (1 ธ.ค. 63) ที่ห้องประชุม EOC อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานหาดใหญ่ เรืออากาศโท ธนันท์รัฐ ประเสริฐศรี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ผหญ.) พร้อมด้วยนายชูวิทย์ พันธุ์เณร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านสนับสนุนธุรกิจ) (รหญ.สธ.) นายปเวษ เศียรอุ่น...
ช่วงบ่ายวันนี้ (28 พ.ย. 63) ที่พุทธมลฑล ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายวรณัฏฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นำพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสงขลา จำนวนกว่า 300 คน ที่ต่างพร้อมใจสวมใส่เสื้อผ้าสีขาวและสีเหลือง เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้ให้กับแผ่นดิน และปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ในโอกาสวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ...
วันนี้ (27 พ.ย. 63) ที่โรงแรม ลี การ์เดนส์พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายนายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนีบัตรแก่ผู้แทนกิจการที่เข้าร่วมโครงการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยาง และไม้ยางพาราด้วยนวัตกรรมใหม่สู่เชิงพาณิชย์” ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มผลิตภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมยางพาราและไม้ยางพารา โดยมีนายวัชรศักดิ์ สุวลักษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ผศ. ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กล่าวว่า ประเทศไทย มีข้อได้เปรียบในด้านเป็นแหล่งวัตถุดิบ อันดับ 1 ของโลก แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการส่งออกในรูปของยางแปรรูปขั้นต้นน้ำ เช่น น้ำยางข้น แผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครป ไม้ยางพาราอบแห้ง คิดเป็นมูลค่า 7,896.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 86 ของปริมาณการผลิตยางธรรมชาติทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกประมาณ ร้อยละ 14 เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายน้ำ ซึ่งสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา เป็นมูลค่าถึง 6,433.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงจำเป็นต้องยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางพาราและไม้ยางของไทย นายวัชรศักดิ์ สุวลักษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางพาราและไม้ยางของไทย โดยนำนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้วัตถุดิบจากยางพาราและไม้ยางในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากลอย่างยั่งยืน โดยดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงการวางผังโรงงานอุตสาหกรรม ให้สถานที่ปฏิบัติงานมีการจัดวางเครื่องจักรต่าง ๆ มีความเหมาะสมที่จะให้การผลิต มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดความความสูญเสียในการทำงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้น ผศ. ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์...
วันนี้ (26 พ.ย. 63) ที่สำนักชลประทานที่ 16 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะผู้บริหารกรมชลประทาน นำโดยนายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน (ฝ่ายก่อสร้าง) และนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน (ฝ่ายบำรุงรักษา) และคณะ ลงพื้นที่ประชุมติดตามความพร้อมการรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ปี 2563 พร้อมปล่อยขบวนรถขนย้ายครื่องจักร เครื่องมือ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที โดยมีคณะผู้บริหากรมชลประทาน ทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมให้การต้อนรับ นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การปล่อยขบวนรถขนย้ายครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ในครั้งนี้ สืบเนื่องจากรัฐบาล โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติอุทกภัย เตรียมความพร้อมให้สามารถดำเนินการป้องกันมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สามารถเผชิญเหตุกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติในพื้นที่ได้ทันท่วงที “…กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมชลประทาน ได้ตระหนัก น้อมรับนโยบายดังกล่าว โดยได้จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำในฤดูน้ำหลาก ทั้งในช่วงก่อนน้ำมา ระหว่างน้ำมา และภายหลังน้ำลด ไม่ว่าจะการบริการจัดการน้ำด้วยระบบชลประทาน การจัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมบุคลากรอย่างเต็มศักยภาพ…. สำหรับสถิติการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยทั่วไปจะเกิดในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม การเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน จะจัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือไว้ที่จุดพักคอย 4 จุดใหญ่ ที่จะคอยเติมให้กับจุดย่อยในจังหวัดต่าง ๆ คือ 1.สำนักงานชลประทานที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2.สำนักงานชลประทานที่...
วันนี้ (25 พ.ย. 63) ที่โรงแรมบีพีแกรนด์ ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายแพทย์อรรถสิทธิ์ แดงมณี นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพระยะยาว รองรับการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในระดับพื้นที่ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วย บุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 รวมทั้งสิ้น 104 คน นายแพทย์อรรถสิทธิ์ แดงมณี รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กล่าวว่า จากสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งทราบกันดีว่าประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2564 นี้ จะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสมบูรณ์ คือ มีผู้สูงอายุร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น งบประมาณรัฐบาลจะต้องนำมาเป็นค่าการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพ รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการที่ต้องเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่เช่นเดียวกับประเทศไทยทำให้หน่วยงานจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงปัญหาสังคมสูงวัย โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหลากหลายโครงการ “…ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ หรือ Care Manager ถือว่าเป็นกลไกและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว มีบทบาทที่สำคัญหลายประการ ทั้งด้านการบริหารจัดการระบบ Long Term Care การจัดบริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเชื่อมโยงกับทีมสหวิชาชีพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Caregiver และอาสาสมัครบริบาล เชื่อมประสานการทำงานอย่างมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงโดยชุมชนเพื่อชุมชน ตามบริบทของพื้นที่…” นางสาวนวพร เตโช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยสูงอายุศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เพิ่มมากขึ้น...