รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการอาชีวศึกษา เนื่องจากเป็นการจัดการศึกษาที่ผลิตคนเข้าสู่ภาคแรงงาน รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อสร้างคุณภาพของคนไทย ให้สามารถเรียนรู้พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ สามารถประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตได้ โดยมีความรู้ มีทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดี มีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมของกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม...
ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วรนุช ดีละมัน มัทนาวดี หัทยานนท์ โฉมศรี ชูช่วย นักศึกษาปริญญาเอก คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถานการณ์ความผันผวนและวิกฤติด้านพลังงานที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันหรือเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ผันแปรตามปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ...
การขับเคลื่อน “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ” ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ของอำเภอสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เน้นให้ทุกกิจกรรมเกษตรกรในพื้นที่ต้องได้รับประโยชน์สูงสุด “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ” ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและชุมชนด้วยการน้อมนำหลักการ ทฤษฎี และแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานไว้ มาส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ...
รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมระดับการศึกษาในทุกๆ วิชา เนื่องจากภาษาไทยเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ของนักเรียน โดยรัฐบาลได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการพัฒนา ให้คุณครูรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ให้วิเคราะห์และจำแนกนักเรียนออกเป็นกลุ่มตามความสามารถในการเรียนรู้...
นางอุไรวรรณ บรรจุสุวรรณ คลังจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลได้เปิดให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 รอบที่สอง ระหว่างวันที่ 3 เม.ย. ถึง 15 พ.ค. 60 ในส่วนของ จ.สงขลา จนถึงวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา มีประชาชนสนใจร่วมลงทะเบียนที่คลังจังหวัด...
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2560 จ.นราธิวาส พบการระบาดของโรคหัด ประมาณ 200 คน ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับอีกหลายจังหวัดทั่วประเทศ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ ยังไม่เห็นความสำคัญของการนำเด็กมารับวัคซีนป้องกันโรคหัดตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ รับวัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน และครั้งที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี ทำให้ จ.นราธิวาส มีความครอบคลุมการรับวัคซีนต่ำ...
“…ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของทั้งชีวิตและส่วนรวม คือ การศึกษาซึ่งเป็นรากฐานส่งเสริมความเจริญมั่นคงเกือบทุกอย่างในบุคคล และประเทศชาติ…” พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียน ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2518 โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะทรงถือว่า “การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตมนุษย์” เมื่อครั้งที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า นักเรียนในเขตอำเภอยี่งอ มีความประสงค์เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ต้องเดินทางทางไปในตัวเมืองนราธิวาส เนื่องด้วยเพราะไม่มีโรงเรียนในพื้นที่...
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านเศรษฐกิจการพาณิชย์ การสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา และได้ทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องเกษตรกร ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจ พระองค์ทรงประดิษฐ์คิดค้นเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนา และการแก้ปัญหาให้กับการเกษตร เกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ อาทิ โครงการฝนหลวง โครงการแกล้งดิน กังหันชัยพัฒนา ฯลฯ ที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการเกษตร เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนทรงได้รับการยกย่องเป็นพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย โดยต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์...
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2531 ได้เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ สาเหตุเกิดจากปริมาณน้ำคลองอู่ตะเภาที่ไหลผ่าน อ.หาดใหญ่ ล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมบริเวณใจกลางเมือง สร้างความเสียหายประมาณ 4,000 ล้านบาท ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย อ.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2531 ว่า “การแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยด้วยวิธีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่คลองอู่ตะเภา...