มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ผลิตชุดทดสอบธาตุอาหารในน้ำ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน สำหรับเฝ้าระวังปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน้ำผิวดินและน้ำทะเล หวังช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และรักษาทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดภูเก็ตให้มีความยั่งยืนต่อไป จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดในด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนที่มากขึ้น และก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมามากมายโดยเฉพาะปัญหาคุณภาพน้ำผิวดิน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมและน้ำทะเลที่เชื่อมต่อกับแหล่งน้ำผิวดินเหล่านี้ยังประสบปัญหาคุณภาพน้ำทะเล และเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีและสาหร่ายขนาดใหญ่สะพรั่ง (Algae bloom) หรือปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ผลิตชุดทดสอบฟอสเฟตไนเตรท และไนไตรท์ในน้ำ ช่วยแก้ปัญหาเฝ้าระวังปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน้ำผิวดินและน้ำทะเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต...
วันนี้ (18 ก.พ. 64) พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสารท องคมนตรี ในฐานะกรรมการโครงการกองทุนการศึกษา ลงพื้นที่ตรวจโรงเรียน เยี่ยมบุคลากร และนักเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาเขตจังหวัดสงขลา ณ โรงเรียนบ้านกระอาน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยมีนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายธีรพงศ์ เพชรรัตน์ ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หัวหน้าส่วนราชการ นายไพซอน หนิเร่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระอาน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนร่วมให้การต้อนรับ สำหรับโรงเรียนบ้านกระอาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา นักเรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 95 เปอร์เซ็นต์ ศาสนาพุทธ 5 เปอร์เซ็นต์ จัดการศึกษา 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาสทางการศึกษา) ปัจจุบันมีนักเรียน 338 คน บุคลากรทางการศึกษา 27 คน โดยมีโครงการสำคัญ ประกอบด้วย โครงการโรงเรียนกองทุนการศึกษา โครงการโรงเรียนประชารัฐ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล พร้อมร่วมสืบสานพระราชปณิธานสร้างคนดีให้บ้านเมือง ด้านคุณธรรม มีโครงการพี่น้องคล้องรัก 8 กลุ่ม ได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์...
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสำนักวิจัยและพัฒนา จัดงาน “PSU Research Expo 2021” รูปแบบออนไลน์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของอาจารย์นักวิจัยในภาคใต้ ในการขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ และรับทราบนโยบายด้านการวิจัยที่มีการปรับเปลี่ยน โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานเปิดงาน ผศ. นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวรายงาน...
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการ ร่วมกับบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลอาหารและเครื่องดื่มเพื่อชาวมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตอบโจทย์คนยุคใหม่ พร้อมส่งเสริมนักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการ ร่วมพัฒนาธุรกิจ บูรณาการศาสตร์การเรียนรู้ ฝึกการทำงานจริง ปัจจุบันการบริการสั่งอาหารผ่าน Application เป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบายในชีวิต คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET จัดทำโครงการ “Local Life” สร้าง Application “Food Delivery” เพื่อเป็นสื่อกลางในการอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ขาย หรือร้านค้า และผู้ซื้อทั้งนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตลอดจนบุคคลภายนอก และยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างโอกาสการหารายได้ระหว่างเรียนของนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือนักศึกษาที่อยากหารายได้เสริม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัฐดา จิเบ็ญจะ รองคณบดีฝ่ายกิจการภายในและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า โครงการ “Local Life” เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง Application “Food Delivery” ให้นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถสั่งอาหารออนไลน์ได้ ส่งเสริมการเรียนรู้ บูรณาการศาสตร์ ฝึกการทำงานจริงของนักศึกษา ตลอดจนสร้างโอกาสหารายได้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จากการเป็นผู้ส่งอาหารและเครื่องดื่ม หรือ Rider โดยมีบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)...
สถาบันสันติศึกษา เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ประจำปีการศึกษา 2564 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความขัดแย้งและสันติศึกษา หลักสูตรปรับปรุง 2564 จัดการเรียนการสอนแบบ Module โดยคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความขัดแย้งและสันติศึกษา เช่น Dr.Norbert Ropers ผศ. ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี เป็นต้น (นักศึกษาเรียนดี มีทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์) สมัครวันนี้ ถึง 15 เมษายน 2564 ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://gradmis.psu.ac.th/admission/home.php คู่มือการศึกษาประจำปีการศึกษา 2564 https://grad.psu.ac.th/…/news_admis/admisbookall64.pdf สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม งานบัณฑิตศึกษา สถาบันสันติศึกษา โทร.0-7428-9450 หรือที่...
วันนี้ (8 ก.พ. 64) รศ.จรูญ เจริญเนตรกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมส่งมอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องกลด้วยระบบอัตโนมัติ และเครื่องอัดแท่งผลไม้ ณ ที่ว่าการอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ซึ่งมีการถ่ายทอดความรู้นวัตกรรมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนด้วยนวัตกรรมเครื่องตรวจควบคุมด้วยระบบอนุมัติ ภายใต้โครงการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชนสังคม โดยมีนายอนิรุทร บัวอ่อน นายอำเภอธารโต เป็นประธานในพิธี ทั้งนี้ การส่งมอบผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องกวนผลไม้ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ และเครื่องอัดแท่งผลไม้ ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทุเรียนที่สวนพ่อนำ...
เมื่อวันที่ 15-17 ธันวาคม 2563 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) จัดงาน Thailand Kaizen Award 2020 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement) ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างสังคมอุดมปัญญาและส่งเสริมให้เกิดการจดสิทธิบัตร รวมถึงเพื่อยกย่อง เชิดชู องค์กรและบุคคลที่มีผลงานดีเด่น...
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตร “การจัดการระบบกิจการฮาลาล” (Halal System Management) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัสมัน แตอาลี ผู้อำนวยการสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และบริการวิชาการ สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันแถลงข่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น...
วันนี้ (2 ก.พ. 64) ที่ศูนย์การเรียนรู้ย่านเมืองเก่า คิด บวก ดี (Kid+Dee @ Historic Center) อำเภอเมืองสงขลา นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ชุมชน โดยมีคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กลุ่มหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน กลุ่มผู้ประกอบการ คณะผู้วิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ภูมิปัญญาด้านวัฒนรรมภาคใต้ พื้นที่รอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีลักษณะโดดเด่น มีความเฉพาะของแต่ละพื้นที่ อาหารที่ใช้ในประเพณีวันสารทเดือนสิบ เรือพระ และเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการลากพระ ล้วนเป็นสิ่งที่นสนใจเป็นอย่างยิ่ง จากความสำคัญดังกล่าว นำมาออกแบบสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาด้านวัฒนรรมภาคใต้ จังหวัดสขลา เป็นการสร้างมูลค่าของทรัพยากรท่องเที่ยวบนพื้นฐานแห่งความเป็นท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ สามารถสร้างงานซึ่งเป็นฐานทรัพยากรทางธรรมชาติและวิถีชีวิต สร้างรายได้แก่ชุมชนในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจชุมชน และพัฒนาการท่องเที่ยวดังกล่าวตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยไม่ทำลายทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของลูกหลานในอนาคต พร้อมขอบคุณทางหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มผู้ประกอบการ ที่ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อน ผลักดันกลุ่มเป้าหมายในการนำองค์ความรู้ต่อยอดพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว ด้าน ผศ.ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่า โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ชุมชน จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ชุมชน พร้อมให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมสนับสนุนผลักดันกลุ่มเป้าหมายในการนำองค์ความรู้ต่อยอดพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว โดยเป็นโครงการวิจัยภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมภาคใต้ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน เป็นการศึกษาเครื่องใช้ดนตรีที่ใช้ประกอบกิจกรรมลากพระในประเพณีวันสารทเดือนสิบ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ออกแบบเป็นหมอนเครื่องดนตรีและของใช้ส่วนตัว เช่น หมอนโพนซุกมือ หมอนระฆังรองคอ กล่องทิชชู่ฆ้อง ตุ๊กตาไม้เครื่องดนตรี และของตกแต่ง เช่น ตุ๊กตาไม้ตาลโตนด หมวกเครื่องดนตรี หมวกฆ้อง หมวกระฆัง ซองใส่กุญแจเรือพระ เป็นต้น การนำเอกลักษณ์เรือพระในประเพณีวันสารทเดือนสิบ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น โคมไฟ (พญานาค พนมพระ ฉัตร) ที่ใส่อุปกรณ์สำนักงาน (เรือ เรือพระ บาตร) และวัฒนธรรมด้านอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เช่น กระเป๋าลา (La Bag)...
วันนี้ (1 ก.พ. 64) ผศ. ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เปิดงานปฐมนิเทศและแถลงข่าวสื่อมวลชนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ คณาจารย์ ผู้แทนท้องถิ่น ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วม ผศ. ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมติ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 เห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ (System Integrator) จ้างนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไป ร่วมพัฒนาพื้นที่ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชนนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานโครงการดังกล่าวจำนวน 5 พื้นที่ ประกอบด้วย 1.ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2.ตำบลท่าหินอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 3.ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 4.ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา...