ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะ เข้าพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในเขตพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ขององค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ตามแนวทางพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม โดยประเด็นสำคัญที่นำมาเป็นโจทย์ ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพวิทยากรกระบวนการชุมชน การจัดการความรู้ การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการส่งเสริมเสริมเศรษฐกิจฐานราก การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยได้มีการดำเนินการใน 2 โครงการสำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์บนแผนที่ออนไลน์ โดยมีการสร้างเว็บแอปพลิเคชั่นเพื่อการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งสามารถดูแผนที่การระบุตำแหน่ง และการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ มีการพัฒนาระบบติดตามตรวจสอบกิจกรรมเพื่อติดตาม และวิเคราะห์พฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการดูแลอย่างใกล้ชิด และพัฒนาโปรแกรมการใช้เวลาว่างเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ คือ โครงการการพัฒนาพื้นที่เกาะกลางบางทะลุ ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น ระบบนิเวศน์บนบกและระบบนิเวศในน้ำ พัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการองค์กรชุมชน พัฒนาศักยภาพของผู้นำเยาวชน สร้างระบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์แบบไม่ระมัดระวัง เพื่อพัฒนาเกาะกลางบางทะลุให้เป็นพื้นที่สมัยใหม่ เพื่อประโยชน์ทั้งในการท่องเที่ยว การค้าขาย การออกกำลังกาย และการพักผ่อนหย่อนใจ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างยั่งยืน ลดปัญหาจากการดัดแปลงหรือทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพึ่งพาทรัพยากรของชาวบ้านในการดำรงชีวิตที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เกาะกลางบางทะลุที่เป็นแหล่งสมุนไพรรักษาโรคจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และแหล่งเตยปาหนันใช้สำหรับสานเสื่อ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน และลดความขัดแย้งระหว่างประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกับผู้บริหารท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงต้องเข้าสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้นำ และประชาชนได้หันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ และการใช้แบบไม่ระมัดระวังและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการทรัพยากรที่ประชาชนจะร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น สร้างขึ้นมาเพื่อดูแลทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะกลางบางทะลุไม่ให้เสื่อมโทรมมากกว่าที่เป็นอยู่ และสามารถฟื้นฟูในส่วนที่พอจะฟื้นฟูได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาทรัพยากรต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการวิจัยเข้ามาดำเนินการ
ตลาดน้ำประชารัฐบางใบไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นตัวอย่างของการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปสู่ความยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ โดยลักษณะตลาดจะตั้งบนท้องร่องสวนมะพร้าว ป่าจาก ขนาบริมคลองในบางที่ร่มรื่นมีที่พักผ่อนที่นั่งรับประทานอาหารทั่วบริเวณ จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปในชุมชน เช่น น้ำส้มจาก น้ำผึ้งจาก น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สบู่มะพร้าว ฯลฯ อาหารขนมพื้นบ้าน รวมทั้งผลไม้ท้องถิ่นตามฤดูกาล เป็นต้น ทีมนักวิชาการและนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดย ดร.วิชชุตา มาชู คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกับเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบางใบไม้มามาเป็นเวลานาน นับแต่การเปิดการเรียนการสอนของหลักสูตรการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 ภายใต้ชื่อ “โครงการการบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ : การพัฒนาตลาดน้ำประชารัฐบางใบไม้” ซึ่งเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ ความร่วมมือของทีมนักวิชาการและนักวิจัย ดำเนินการในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ “การพัฒนาสื่อการตลาดออนไลน์การท่องเที่ยวโดยชุมชน” เป็นการจัดทำสื่อออนไลน์ในรูปแบบคลิปวิดีโอยูทูป จำนวน 18 คลิป นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยชุมชนบางใบไม้เป็น 1 ใน 18 ผลงานดังกล่าว มีการนำปัญหาที่ชุมชนต้องการความช่วยเหลือมาเป็นโจทย์กรณีศึกษา ของการเรียนการสอนในรายวิชา การตลาดการท่องเที่ยวและบริการ และรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว ให้นักศึกษาเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณและดำเนินการวิจัยตลาด โดยผลงานวิจัยทั้งหมดจะถูกนำกลับไปถ่ายทอด และส่งมอบคืนแก่พื้นที่ชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ต่อไป นอกจากนั้น ยังมีการใช้พื้นที่ชุมชนบางใบไม้เป็นพื้นที่วิจัยระดับปริญญาตรี ในหัวข้อวิจัยต่าง ๆ อาทิ การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สวนลุงสงค์ ตำบลบางใบไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวตลาดน้ำประชารัฐบางใบไม้ และการศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น สวนลุงสงค์ และ การใช้พื้นที่ตลาดน้ำบางใบไม้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และร่วมเป็นกิจกรรมของตลาด เช่น การจัดแข่งขันการคิดสูตรเครื่องดื่มสมุนไพร และออกแบบการจัดอาหาร เป็นต้น
รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาสุราษฎร์ธานี แถลงข่าวการจัดงานครบรอบ 30 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โดยจัดระดมทุนนำรายได้สมทบ “กองทุนเพื่อนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์” เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ประสบปัญหาทางด้านการเงินในระหว่างศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เริ่มโครงการขยายการศึกษามายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 ซึ่งจากการศึกษาพบว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีศักยภาพด้านต่าง ๆ สูง เหมาะสมที่จะจัดตั้งสถานศึกษาระดับสูง เพื่อรองรับการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม...
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เชิญสื่อมวลชนเยี่ยมชมศักยภาพทางด้านวิชาการของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ในโครงการ “เครือข่ายประชาสัมพันธ์สงขลานครินทร์ ครั้งที่ 3 : The 3rd PSU Network on Surat Thai Campus” เน้นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานเมื่อสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดโครงการเครือข่ายประชาสัมพันธ์สงขลานครินทร์ ครั้งที่ 3 เพื่อเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เข้าสัมผัสกับบรรยากาศกิจกรรม และได้เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมของมหาวิทยาลัยในทุกวิทยาเขต โดยในปีนี้จัดโครงการที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีสื่อมวลชนจากภาคใต้ ส่วนกลาง ภาคเหนือ รวม 45 สำนัก และประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยทุกวิทยาเขต เข้าร่วมรวมจำนวน 80 คน โดยพิธีเปิดโครงการมีขึ้นในวันที่ 30 มกราคม 2563 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษา วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาสุราษฎร์ธานี ผู้แทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต มีการบริหารงานภายใต้รูปแบบ PSU System กล่าวคือ PSU System เป็นระบบประสิทธิภาพทางการบริหารที่ยึดหลักความเชื่อมโยงและเป็นเครือข่ายของวิทยาเขตเพื่อเกื้อหนุนให้สามารถใช้ทรัพยากร ความเชี่ยวชาญ และรากฐานวิชาการร่วมกัน ซึ่งการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยการรับรู้ของชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือ ซึ่งในส่วนนี้ มหาวิทยาลัยก็ได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนเป็นอย่างดีเสมอมา ถือโอกาสนี้ในการกระชับความสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายเพื่อความร่วมมือกันต่อไปในอนาคต ต่อไป โดยโครงการเครือข่ายประชาสัมพันธ์สงขลานครินทร์ ครั้งที่ 3 ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งเพาะปลูกพืชสวนและไม้ผลที่มีค่าทางเศรษฐกิจ มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและบนบก ดังนั้น การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จึงมุ่งเน้นการตอบสนองบริบทของพื้นที่ดังกล่าว โดยมุ่งพัฒนางานวิจัยและความเป็นนานาชาติด้านพืช เศรษฐกิจ การบริหารจัดการพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านไม้ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ชุมชน สถานประกอบการทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานเมื่อสำเร็จการศึกษาต่อไปในอนาคต...
นายมนัสฌาน์ ชูเชิด ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษา (วอศ.) สงขลา เปิดเผยว่า วอศ.สงขลา ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ทั้งนี้ เพื่อต้องการยกระดับสถานศึกษาในการขับเคลื่อนอาหารพื้นถิ่นสงขลา ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสอดรับกับนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ต้องการผลักดันให้จังหวัดสงขลาเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางด้านอาหารของยูเนสโก โดย วอศ.สงขลา จะพัฒนาสถานศึกษาให้มีความโดดเด่นและเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะทาง ที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เป็นภาคธุรกิจและบริการ ซึ่ง วอศ.สงขลา มีทั้งภาควิชาอาหารและโภชนาการ คหกรรมศาสตร์ การโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำงานร่วมกันในการที่จะผลักดันความโดดเด่นเรื่องของอาหารที่ดี ปลอดภัย มีคุณค่า มีรสชาติดี โดยจะปรับรูปลักษณ์อาหารพื้นถิ่นให้เข้ากับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ในรูปแบบของ Chef’s Table ซึ่งเป็นอาหารฟิวชั่น “…วัตถุประสงค์ของการเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา หรือ Excellent Center ของ วอศ.สงขลา ก็เพื่อสร้างความโดดเด่นของเมนูอาหารพื้นถิ่นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอาหารและสินค้าเกษตรในการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของอาหารสด...
วันนี้ (8 พ.ย. 62) ที่ห้องภูมิปัญญศิลป์ ชั้น 3 ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ “สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่สงขลา” (International Seminar & Workshop...
วันนี้ (2 พ.ย. 62) ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายวรณัฎฐ์ หนูรอต ปลัดจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดงานมหกรรมหนังสือภาคใต้ ครั้งที่ 6 (Southern Book Expo 2019) พร้อมด้วยอาจารย์พิชิต...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการติวน้อง คล้องใจ สายใย ต้นกล้าสงขลานครินทร์ ในวันนี้ื (18 ต.ค. 62) ณ ห้องประชุม 210 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยทุนการศึกษาดังกล่าวได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 15 ปี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ที่ได้กำหนดแผนและนโยบายในการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีภูมิลำเนาใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อสำเร็จการศึกษานักเรียนเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนช่วยเหลือครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและช่วยเหลือท้องถิ่นของตน และให้คำแนะนำด้านการศึกษาต่อ แนะนำคณะ สาขาวิชา ระเบียบการสอบเข้าศึกษาต่อในรอบต่าง ๆ ให้แก่น้อง ๆ นักเรียนทุนระดับมัธยมศึกษา โดยการนำข้อสอบมาติวน้องนักเรียนทุนรวมทั้งสอนเทคนิคการทำข้อสอบรวมถึงเปิดโอกาสให้รุ่นน้องได้ปรึกษากับรุ่นพี่ เพื่อรับทราบปัญหาระหว่างการเรียน และการดำเนินชีวิต เกิดความเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ การจัดโครงการ “ติวน้อง คล้องใจ สายใยต้นกล้าสงขลานครินทร์” ยังส่งผลทางอ้อมให้รุ่นพี่นักศึกษาทุนฯ ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกทักษะการสื่อสาร รู้จักแบ่งปัน และสามารถให้คำปรึกษารุ่นน้องได้ ปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน นักศึกษา และศิษย์เก่า ในโครงการต้นกล้าสงขลานครินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 219 คน แบ่งเป็น นักเรียนทุนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 88 คน นักศึกษาทุนที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1-5 จำนวน 89 คน และศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ 1-8 จำนวน 42 คน โดยมีคุณอนุพาสน์ สุวรรณมงคล กรรมการผู้จัดการกลุ่มอีซูซุหาดใหญ่ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ประธานคณะทำงานทุนการศึกษาโครงการต้นกล้าสงขลานครินทร์ รวมถึงเป็นผู้อุปถัมภ์ใจดีได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาในโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา
รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณนักวิจัย จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จากผลงาน “การพัฒนาแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพลและสารเมือกจากเมล็ดแมงลัก” ในงานประชุมวิชาการ สวก. 2562 ภายใต้แนวคิด “Beyond Disruptive Technology” จุดเปลี่ยนอนาคตไทย ด้วยงานวิจัยเกษตร ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริม และพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตร เพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศโดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรับทราบทิศทางงานวิจัยด้านการเกษตรที่สอดรับต่อการเข้ามามีบทบาทสำคัญของเทคโนโลยี ภายในงานมีการเสวนา การบรรยายพิเศษ และการมอบรางวัลผู้ประกอบการดีเด่น นักเรียนทุนดีเด่น และรางวัลประกาศเกียรติคุณนักวิจัยที่ได้รับรางวัลในต่างประเทศ โดยมีนักวิจัย นักวิชาการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการในภาคการเกษตร เข้ารวมงานกว่า 1,200 คน การพัฒนาแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพล และสารเมือกจากเมล็ดแมงลัก ของรองศาสตราจารย์ ดร. ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ เป็นการพัฒนายาแก้ปวดจากสารสกัดไพลในรูปแบบแผ่นแปะที่ผลิตจากสารเมือก (Mucilage) จากเมล็ดแมงลัก โดยเตรียมสารสกัดจากธรรมชาติด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดต้นทุนในการผลิตยา และสามารถควบคุมปริมาณสารสำคัญที่ออกฤทธิ์แก้ปวด และต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อในสารสกัดไพลได้อย่างเหมาะสม แผ่นแปะแก้ปวดดังกล่าวสามารถรักษาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ และไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองแก่ผิวหนัง ผลงานวิจัยดังกล่าวเคยได้รับรางวัล Gold Medal จากการเข้าประกวดในงาน “45 th International Exhibition...
วันนี้ (5 ส.ค. 62) ที่บริเวณค่ายลูกเสือสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือสำรองแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยมีผู้บังคับการงานชุมนุม ผู้บังคับการค่ายย่อย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ลูกเสือ-เนตรนารี เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์...